บทความจากนิตยสาร add Free Magazine
ป้องกันและตอบโต้ (ด้วยเคล็ดวิชา มวยไชยา) ...โดย แหลมทอง ศิษย์ครูทอง
มวยหมัดพันด้ายดิบ (ฉบับที่ 2/ก.พ. 2554)
ครูทองหล่อ ยาและ (ครูมวยไชยา) ท่านเรียก มวยคาดเชือก อีกชื่อหนึ่งว่า “มวยหมัดพันด้ายดิบ” ความหมายก็ตรงตามนั้นครับ เมื่อจะคาดเชือกนักมวยจะนำด้ายดิบ มาจับเป็นไจ ขวั้นให้ได้ขนาดความอ้วนกลมประมาณเท่าแท่งดินสอหรือปากกากำลังดีครับ ถ้าอยากให้เชือกที่ขวั้นขึ้นรูปไม่ลุ่ยเละ ครูก็จะใช้เทียนไข เทียนแท่งเหลือง ๆ ขาว ๆ นำมารูดถูเชือกไปมาไม่ต้องมากนะครับ แค่นี้เชือกที่ขวั้นก็จะได้รูปทรงสวยงามแถมยังช่วยป้องกันเหงื่อไคลจับติดเชือกได้อีกด้วย เพราะเชือกคาดหมัดครูบาอาจารย์ท่านบอกไม่ต้องซัก ใช้พันไม้พันมือขึ้นชกต่อยหลังจากเสร็จงานก็นำเชือกออกผึ่งแดดให้แห้ง (เป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยไปในตัว) แล้วก็เก็บม้วนเป็นก้อนกลม เก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป
ครูทองหล่อ ยาและ (ครูมวยไชยา) ท่านเรียก มวยคาดเชือก อีกชื่อหนึ่งว่า “มวยหมัดพันด้ายดิบ” ความหมายก็ตรงตามนั้นครับ เมื่อจะคาดเชือกนักมวยจะนำด้ายดิบ มาจับเป็นไจ ขวั้นให้ได้ขนาดความอ้วนกลมประมาณเท่าแท่งดินสอหรือปากกากำลังดีครับ ถ้าอยากให้เชือกที่ขวั้นขึ้นรูปไม่ลุ่ยเละ ครูก็จะใช้เทียนไข เทียนแท่งเหลือง ๆ ขาว ๆ นำมารูดถูเชือกไปมาไม่ต้องมากนะครับ แค่นี้เชือกที่ขวั้นก็จะได้รูปทรงสวยงามแถมยังช่วยป้องกันเหงื่อไคลจับติดเชือกได้อีกด้วย เพราะเชือกคาดหมัดครูบาอาจารย์ท่านบอกไม่ต้องซัก ใช้พันไม้พันมือขึ้นชกต่อยหลังจากเสร็จงานก็นำเชือกออกผึ่งแดดให้แห้ง (เป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยไปในตัว) แล้วก็เก็บม้วนเป็นก้อนกลม เก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป
รูปแบบการคาดเชือกนั้นมีหลายแบบวิธีตามแต่ภูมิปัญญาครูบาอาจาร์ยของแต่ละค่ายแต่ละภาคจะสั่งสอน นักมวยบางคนไม่ถนัดคาดเชือกจะขึ้นชกด้วยหมัดเปล่า ๆ ก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกันของคู่ชก ที่พอมีหลักฐานภาพถ่ายให้เห็นชัดเจนก็เมื่อ สมัย ร. ๖ เมื่อครั้งจัดให้มีการตีมวยหาเงินสนับสนุนกิจการเสือป่า ครั้งนั้นนักมวยไทยจากทั่วทุกสารทิศได้มาชุมนุมกัน มีการถ่ายภาพประชาสัมพันธ์คู่มวยที่จะชกในแต่ละวันเป็นที่คึกคัก นัยว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของคนกรุงในยุคนั้นอย่างได้ผลเชียวครับ.
ภาพโฆษณาคู่ชกมวย ยุคสนามมวยสวนกุหลาบ |