24/10/61

รำร่าย


ถวายบังคม...
แล้ว...รำร่ายไหว้ครู ผู้สอนศาสตร์
กรายดาบวาดขึ้นป้องปก ยกเหนือหัว
ระลึกคุณบรรพชน ร่ายมนต์คุ้มตัว
ปี่กลองรัว เร่งรอนเร้า เข้าชิงชัย.
.
แหลม ศักย์ภูมิ
๒๓ เมษายน ๒๕๖๑
* วัดวรเชษฐ์ อยุธยา
* ภาพโดย : @sergeymonko 😃

สำรวมใจ





อุณาโลม... บรรจงประแจะเจิม
ประเจียด... เสริมลงสวมหัว
พุทธมนต์... ร่ายคุ้มครองตัว
เชือกถัก... สองหมัดทั่ว สำรวมใจ.

แหลม ศักย์ภูมิ
๙ เมษายน ๖๑
*เกาะพงัน สุราษฎร์ธานี



7/11/58

คัมภีร์ มวยไชยา





หนังสือ คัมภีร์ มวยไชยา ศิลปะหมัดคาดเชือก 
ศาสตร์และศิลป์แห่งการทุ่ม ทับ จับ หัก เอกลักษณ์มวยไชยา
จากตำนานผ่านการสือทอดรุ่นต่อรุ่นสู่ปัจจุบัน ผู้เขียน ครูแหลม,ครูพงษ์

 

"มวยไชยา" ศิลปะการต่อสู้และป้องกันตัวของไทยที่ยังคงมีการถ่ายทอดส่งต่อกันมาอย่างมีระบบ 
อีกทั้งยังมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อาทิ... 
สถานที่กำเนิดวิชา วัดทุ่งจับช้าง เมืองไชยา 
สถูปบรรจุอัฐิพ่อท่านมา ปฐมครูมวยไชยา 
บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติมวย และอีกมากมาย 
ซึ่งหนังสือ "คัมภีร์มวยไชยา ศิลปะหมัดคาดเชือก" เล่มนี้ 
ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับจุดเด่นของหลักวิชามวยไชยา รวมทั้งแม่ไม้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 

สารบัญ

- เกริ่นนำรำมวยไทย 
1.สามขุมคลุมแดนยักษ์ 
2.บาจรีย์บูชา 
3.ธรรมเนียมนักมวย 
4. แต่งคน-แต่งตัว 
5. มวยโบราณ 
6. เคล็ดวิชา 
7. ไม้มวย 
8. พาหุยุทธ์ 
9. สามขุม-จดมวย 
10. อวัยวุธ ฯลฯ

โดยในเล่มได้อธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด พร้อมภาพประกอบทุกท่วงที่ 
ให้คุณสามารถใช้เป็นคู่มือในการฝึกมวยไทยไชยาได้ด้วยตัวคุณเอง





คำนิยม โดย อั้ม อธิชาติ
 
"  ผมชื่นชม และขอเป็นกำลังใจสำหรับความตั้งใจอันแน่วแน่ของครูดำ ในการทำหนังสือถ่ายทอดมวยไชยาเล่มนี้ รวมถึงความพยายามในการทำให้มวยไชยาเป็นอาวุทของคนไทยทุกคน ซึ่งสามารถป้องกันตัวได้จริงกับเหตุการณ์ของยุคปัจจุบัน ที่อาจเกิดอันตรายกับเราได้ทุกเมื่อ ฝากไว้ด้วยนะครับกับความตั้งใจของ ผู้ชายตัวดำๆ ที่ตั้งใจและอดทนพยายามเพื่อศิลปะไทย มรดกไทย  "



อั้ม อธิชาติ ชุมนานนท์



5/11/57

Kru Thong, ครูทอง



ครู ทองหล่อ ยาและ (ทอง เชื้อไชยา)
KruThonglor Yalae (Thong Chuechaiya) 


.....ท่านเกิดเมื่อ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๒ ที่โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพฯ

KruThong was born on August 1st, 1929 at Siriraj Hospitcal in Bangkok.


เมื่อเรียน อยู่ชั้น ป.๖ โรงเรียนวัฒนศิลป์ ประตูน้ำ เริ่มเรียนมวยสากลกับครูประสิทธิ์ นักมวยสากลจากกรมพละ

When in grade six, with the interest in martial art KruThong started studying boxing from KruPrasith, boxer of Department of Physical Education, at Watthanasilp Pratunam school.
ช่วงอายุ ๑๓-๑๔ ปี ครูได้ออกหาค่ายมวยไทยที่จะเรียน อย่างจริงจัง ครูไปดูอยู่หลายที่ แต่ก็ไม่ถูกใจเพราะแต่ละค่ายนั้น เวลาซ้อมนักมวย จะเจ็บตัวกันมาก ไม่มีการป้องกันตัวเลย ครูจึงได้ไปหัดเรียนมวยไทยกับ ป๊ะลาม ญาติของแม่ แถวซอยกิ่งเพชร มีครูฉันท์ สมิตเวชกับครูชาย สิทธิผล สอน

When he was 13-14 years old, he seriously searched for a Muaythai school. He went to many Muaythai schools, but did not satisfy any of them. This was because the training in those schools did not focus on protection and caused injuries to trainees. Thus, he chose to practice Muaythai in the gym of Palam, a relative of other, in Soi Kingpetch. There he was trained by KruChan Samitawetch and KruChai Sitthipol. 

ด้วยว่า เป็นคนร่างเล็ก ผอมบาง จึงถูกเพื่อนๆรังแกอยู่เป็นประจำแต่ก็เรียนอยู่ได้ไม่นาน เพราะถูกเด็กโตกว่ากลั่นแกล้ง
However, KruThong could not study there for long since Kru Thong had small and slim body. So, he was bullied frequently by the biggers in the gym. 

หลังจากจบภาคการศึกษา และได้ผ่านชีวิตบู๊ โลดโผ อย่างลูกผู้ชาย ในยุคนั้นครูทองได้มาทำงานที่ การรถไฟ มักกะสันได้รู้จักกับเพื่อน ของคุณพ่อ ชื่ออาจารย์สามเศียร ได้พูดคุยเรื่องมวยและพาไปพบกับ อาจารย์เขตรฯ ที่บ้าน ครูจึงเริ่มเรียนมวยไชยา ขั้นพื้นฐาน ตามลำดับ

Once gratuated, KruThong spent his life like the man in that age, full of fight and adventure. During that time, he worked in State railway of Thailand at Makkasan and got a chance to know a friend of his father, KruSamsien. KruSamsien talked about Muaythai and brought KruThong to meet with KruKetr, a master of MuayChaiya. Since then KruThong studied MuayChaiya from KruKetr and that was the beginning of the MauyChaiya legend of KruThong. 
 
เรียนอยู่หลายเดือน จึงคิดจะ ขึ้นชกเวทีเหมือนอย่างรุ่นพี่บ้าง ช่วงนั้น ครูทอง อายุประมาณ ๑๖ ปี จึงไปขออนุญาต อาจารย์เขตร อาจารย์ท่านก็ดูฝีไม้ลายมือว่าใช้ได้ จึงบอกครูให้ฟิตให้ดีแล้วจะพา ไปชก แต่ครูทองท่านได้แอบไปชกมวยเวที ตามต่างจังหวัดรอบๆกรุงเทพฯ ชนะมากกว่าแพ้ และได้ชกชนะมวยดัง ฉายาเสือร้ายแปดริ้ว ที่ฉะเชิงเทรา จนเป็นข่าวรู้ถึงอาจารย์เขตร นับแต่นั้นครูทอง จึงได้ชกใน กรุงเทพฯ โดยอาจารย์เขตร จะพาไปเอง
After studying MuayChaiya for several months, KruThong, who was now 16 years old, would like to fight on stage like other senier trainees and he asked KruKetr for permission. KruKetr considered KruThong skill and believed it was enough for a fight. KruKetr therefore suggested KruThong to fit his body well and KruKetr would send him to a competition. However, not telling KruKetr, KruThong attended many fights in upcontry. He won more than lost and even beat the famous Thaiboxer called Padrew Tiger at Chacherngsao. KruKetr heard the news then brought KruThong to fight in Bangkok. 


ครูทองชกครั้งแรกที่เวที ราชดำเนินกับสมชาย พระขรรค์ชัย ครูทองแพ้ด้วยความตื่นเวทีใหญ่ เมื่อครูทองติดต่อขอแก้มือแต่ฝ่ายสมชาย ไม่ขอแก้มือด้วย มาเลิกชกมวยเมื่ออายุ ๒๔ ปี เมื่อคุณย่าท่านป่วยหนักและได้ขอร้องให้ครูเลิกชกมวยเวที ครูทอง ก็ให้สัจจะ แต่ขอคุณย่าไว้ว่าจะเลิกต่อยแต่ไม่เลิกหัด คุณย่าท่านก็อนุญาต
The first official fight of KruThong in Bangkok was held at Rajadamnern stadium. Due to excitement of big stage, he lost to Somchai Phrakhanchai on his first fight. He would like to have a rematch, but was denied by the opponent. KruThong stopped fighting on stage when he was 24 to fulfill the wish of his grand mother, who was resiously sick. He promised to the grand mother that he would no longer fight on stage, but would not stop practicing MuayChaiya. 


ครูทอง ได้เรียนมวยกับอาจารย์เขตร อยู่อีกหลายปี จนอาจารย์เขตร ออกปากว่า จะพาไปเรียนกับอาจารย์ใหญ่.....อาจารย์เขตร จึงฝากครูทอง ให้ไปเรียนวิชาต่อกับอาจารย์ กิมเส็ง ครูทองท่านสนใจเรียนมวยมาก เมื่ออาจารย์ กิมเส็ง ให้ถือดาบไม้และให้ลองเล่นกับท่านดูโดยบอกว่า ก็เล่นเหมือนกับเล่นมวย นั้นแหละ ลองอยู่สักพัก อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็บอกว่า ใช้ได้นี่ ด้วยเหตุนี้ ครูทอง จึงไม่ได้เรียนดาบกับอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งครูมักพูดว่าเสียดายอยู่เสมอๆ (แต่ครูทองก็มีความรู้เรื่อง การฟันดาบอยู่ไม่น้อย) เรียนอยู่สัก ๓ ปี อาจารย์กิมเส็ง ท่านก็สิ้น
KruThong had learned MuayChaiya from KruKetr for many years until KruKetr brought him to the headmaster, Ajarn Kimseng Thaweesit. Ajarn Kimseng once asked KruThong to practice wooden swords. Ajarn Kimsend suggested that figthing with swords is similar to boxing. After having a spare fight for a while, Ajarn Kimseng told KruThong that his swords skill was already good. Therefore, KruThong did not get a chance to study swords from Ajarn Kimseng. KruThong later told his disciples he regreted the missed chance, but in disciples opinion, KruThong had quite amount of knowledge in weaponry martial art. After KruThong had learned MuayChaiya from Ajarn Kimseng for about three years, Ajarn Kimseng passed away. 

ครูทองได้มาช่วยเพื่อนชื่อไหว สอนมวยอยู่ราชบูรณะ และเริ่มสอนมวยอย่างจริงจัง เมื่อย้ายบ้านมาอยู่ที่ ย่านบางนา มีทหารเรือมาฝึกกับท่านจำนวนมาก ครูทองจึงได้ไป ขออนุญาต อาจารย์เขตร ว่าจะสอน ครั้นพูดจบอาจารย์เขตร ท่านก็เหวี่ยงแข้งเตะมาที่ครูทองทันที ครูทองก็รับปิดป้อง ว่องไว ตามที่ได้เรียนมา อาจารย์เขตร จึงว่า อย่างนี้สอนได้ และได้ให้ครูทองมาเรียนวิชาครูเพิ่มเติม
KruThong then turned himself to be a Muaythai teacher. KruThong helped his friend named Wai teach Muaythai in Ratburana district, and was more serious in teaching Muaythai when we moved to Bangna district. At that time, there were so many marines would like to study with him. Thus, KruThong went to meet KruKetr asking for permission to become a Muaychaiya teacher. Right after finish his words, KruKetr kicked KruThong. KruThong could defense that surprise attack. KruKetr then confirmed that KruThong could be a teacher, and taught KruThong teching techniques.
.....ครูทอง ท่านใช้ ชื่อค่ายมวยว่า "ค่ายศรีสกุล" ต่อมาใช้ "ค่ายสิงห์ทองคำ" แต่ซ้ำกับค่ายอื่น ท่านจึงไปกราบขอชื่อ ค่ายมวยจากอาจารย์เขตร ซึ่งก็ได้รับความกรุณาโดยอาจารย์ได้ตั้งชื่อให้ว่า " ค่ายไชยารัตน์ " ด้วยเหตุว่าครั้งเรียน วิชามวยไชยากับ อาจารย์เขตร ศิษย์ทุกคนจะใช้สกุลในการขึ้นชกมวยว่า " เชื้อไชยา " ครูทอง มีลูกศิษย์ หลายรุ่น แต่ละรุ่นท่านก็สอนไม่เหมือนกัน บางคนจะชกมวยสากล บางคนจะชกมวยไทยเวที ท่านจะสอนแตกต่างกัน ตามโอกาส.....
KruThong founded boxing gym called "Srisakul" and then changed to "Singthongdam". However, the new name was still duplicated with another gym. Therefore, KruThong consulted KruKeงtr for a new name and was given the blessing name of "Chaiyarat". This name was adaped from "Chuechaiya", which was the on-stage family designation of all KruKetr's disciples. There were many generations of KruThong disciple. Each generation was trained differently. Some were trained boxing and some were trained Muaythai, depending on disciples demand and circumstances.
จนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ ครูทอง ท่านได้ไปเผยแพร่มวยไทยคาดเชือกที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และได้พบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว อาวุธไทย ได้ขอท่านเรียนมวย แรกๆก็ไปเรียนที่บ้านครู แต่ระยะหลังจึงได้เชิญ ครูทองท่านมาสอนที่มหาวิทยาลัย และครูได้เริ่มสอนแบบโบราณ คาดเชือกด้วยเห็นว่า ท่าย่างสามขุมของดาบ นั้นเป็นแนวเดียวกับการเดินย่างของมวยคาดเชือก
 
In 1983, KruThong went to demonstrated Muaychaiya at Sapanpanfa branch of Bangkok Bank. There he met with the martial art club of Ramkhamhaeng univeristy and the club members became his disciples. In the beginning the teaching was conducted at KruThong's home. Later, KruThong was invited to teach Muaychaiya in the university. At that time, KruThong taught the club members in the ancient way because he saw that the movement concept of weaponry martial art was the same as Muaychaiya. 


จนถึง พ.ศ.๒๕๒๗ นักศึกษาจุฬา ( เคยฝึกอาวุธไทยที่ รามฯ )ได้เชิญครูท่านไปเป็น อาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ครูทอง จึงได้ถ่ายทอด ศิลปะมวยคาดเชือก สายไชยา ในสองสถาบัน จนพ.ศ.๒๕๓๗ จึงหยุดด้วยโรคประจำตัว ครูทองหล่อ ยาและ ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง ๖๗ ปี ในเวลาเช้า ๘.๔๕ น. ของวันที่ ๑๙ กันยายนพ.ศ.๒๕๓๙

In 1984, the Chulalongkorn university student, who practiced Thai swords in Ramkhamhaeng university, invited KruThong to be a special instructor at Chulalongkorn university. Thus, KruThong got chances to passed his invaluable knowledge of Muaychaiya to the students of both famous universities. KruThong stopped teaching in 1994 because of lung cancer, and passed away when he was 67 on September 19, 1996 at 8.45 am




ดาบในมือ


...มือที่กำด้ามดาบมากว่า 35 ปี
รู้จักแต่ฟาดฟันคมดาบออกไป วันนี้กลับนั่งมองใบดาบด้วยใจเป็นสุข
...เพราะช่วงเวลาที่ผ่านมา ศาสตร์และศิลป์แห่งวิชาการต่อสู้
กลับช่วยชำระล้างจิตใจให้ได้พบกับความสงบ...
...เว้นจากการคิดฆ่าล้างทำลาย เป็นจิตใจที่ฝักใฝ่ในวิถีแห่งสันติธรรม
ผ่อนปรน คลายวาง ว่างจากตัวตน..." คนถือดาบ "

แหลม ไทอชิร
24 / 2 / 2557

*ขอบคุณ คุณIgnatius Nakawiroj ที่สะกิดใจให้เกิดบทกวีบทนี้...ขอบคุณ





5/10/57

งานเพื่อสังคมไทย โดย ไทอชิร



ไทอชิร 
กระบี่ กระบอง – มวยโบราณ
  
ตั้งใจทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยมิได้มุ่งหวังผลตอบแทน


กลุ่มไทอชิร ก่อตั้งโดย ครูแหลม (ศักย์ภูมิ จูฑะพงศ์ธรรม) เพื่ออนุรักษ์สืบทอดศิลปะศาสตร์การป้องกันตัวไทย มวยโบราณ-คาดเชือก สายมวยไชยา และ วิชาอาวุธไทย สำนักดาบเจ้าราม เผยแพร่ออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น เยอรมัน , ออสเตรีย, รัสเซีย, ชิลี ฯลฯ

โดยรายได้ส่วนหนึ่งของกิจกรรมการสอน กลุ่มไทอชิร ได้หักออกมาเพื่อช่วยกิจกรรมสังคมในด้านต่างๆ ตามโครงงานต่อไปนี้.

 
 

 


 








   
....................................................

โครงงานเพื่อสังคมไทย


1.โครงงาน... ยุวชน ไทอชิร   
  
ปี 2555 หลังเสร็จสิ้นงานสอนที่ประเทศเยอรมัน ครูแหลม ได้ริเริ่มโครงงาน ยุวชน ไทอชิร เพื่อนำความรู้วิชามวยโบราณ,ดาบไทย มาจัดค่ายกิจกรรมให้กับเด็กนักเรียนในต่างจังหวัดห่างไกล เป็นเวลา 2 วัน 
โดยหักรายได้ส่วนหนึ่งจากงานสอนในต่างประเทศ มาเป็นทุนในการจัดเตรียมงาน และค่าเดินทาง  กลุ่มไทอชิร ได้ชักชวนสมาชิก และ มิตรสหายสายศิลปะป้องกันตัวหลายๆ กลุ่มให้มาร่วมทำกิจกรรมค่ายอาสานี้ร่วมกัน 
ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักดาบหลายๆ แห่ง เช่น ค่ายดาบอิงผา วัฏฏะยุทธ์  สุราษฏร์ธานี , สำนักดาบสมุทรปราการ, สำนักดาบพุทไธสวรรย์ กาญจนบุรี, ชมรมอาวุธไทย รามคำแหง, ครูเจิงดาบเจิงมวย ภาคเหนือ และ กลุ่มศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวทั้งดาบญี่ปุ่น และดาบฝรั่ง ฯลฯ

โครงงาน ยุวชน ไทอชิร ครั้งแรกจัดขึ้นที่ โรงเรียนบ้านโอดนาดี อ.ดอนมดแดง อุบลฯ โดยการติดต่อกับพระอาจารย์น้อย ผาสุก ที่อาสาสอนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ที่นั่น (เพื่อนสมัยนักเรียนของครูแหลม) และจากนั้นกิจกรรมค่ายอาสานี้ก็ได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง. 


 2.โครงงาน... เติมน้ำใช้ให้ชุมชน     

 เริ่มต้นเมื่อปี 2552 จากการร่วมทำหนังสือ "กินน้ำแล้วดวงดี"  โดย อ.โหน่ง นักพยากรณ์ชื่อดัง(นันทวัฒน์ มั่นคง) ผู้เขียน และ ครูแหลม ช่วยเรียบเรียง

จากการจำหน่ายหนังสือทำให้ได้เงินทางจำนวนหนึ่ง ซึ่ง อ.โหน่ง เองไม่ประสงค์จะนำเงินไปใช้ส่วนตัว พวกเราจึงคิดทำโครงงานเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับ "น้ำ"  โดยสรุปนำเงินที่ได้ไปจัดซื้อโอ่ง สำหรับรองน้ำฝน นำไปมอบให้กับโรงเรียนและวัด ที่อยู่ห่างไกลในชนทบซึ่งระบบน้ำประปายังเข้าไม่ถึง 
โดยในครั้งแรกได้รับการสนับสนุนจากมิตรสหาย และ นิตยสาร “แฮร์” / สำนักพิมพ์ “เนชั่น บุ๊ค” ทำให้ได้รับการบริจาคเงินสมทบเข้าร่วมโครงงานในครั้งนี้อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นทุนต่อเนื่องในการดำเนินงานต่อมาอีกหลายครั้ง. 

     



 3.โครงงาน... เติมความรู้สู่ชุมชน     

เริ่มต้นเมื่อปี 2552 จากโครงงาน เติมน้ำใช้ให้ชุมชน และ ยุวชน ไทอชิร หรือ งานร่วมสร้างพระ หล่อพระ ที่ต้องออกไปพบปะสัมพันธ์กับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ครูแหลม ประธานกลุ่มไทอชิร ฯ พร้อมด้วยสมาชิก จึงได้นำหนังสือสาระความรู้ หนังสืออ่านเล่น การ์ตูน ฯลฯ ที่สะสมไว้นำไปบริจาคแก่ห้องสมุดโรงเรียนนั้นๆ ด้วย 
เมื่อข่าวนี้ทราบไปถึงเพื่อน, สมาชิก และลูกศิษย์ หลายๆ ต่างก็นำหนังสือที่มีมาร่วมบริจาคด้วย และร่วมไปถึงผู้ศรัทธาหลายๆ ท่านที่นำเงินไปซื้ออุปการณ์การเรียน สมุด ดินสอ ยางลบ อุปกรณ์กีฬา ฯลฯ มาฝากไปร่วมบริจาค จึงเกิดเป็นโครงงานเติมความรู้สู่ชุมชนที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง.

 
  
 * ต้องการสนับสนุนกิจกรรม กลุ่ม ไทอชิร กรุณาติดต่อ...  

ครูแหลม - ศักย์ภูมิ
                                      
โทร  
02-5737891
089-1600944  ครูแหลม
                                                            
เมล 
- lamp4165@gmail.com  
- lamps08@yahoo.com

บล็อก 
- sakkapoom.blogspot.com
- thaiachira.blogspot.com

เว็บ 
- thaiachira.com



...................................................................


ทำบุญด้วยแรง
กิจกรรมที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน

ด้วยการเสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ เมื่อมีโอกาส ครูแหลม และคณะผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา จะไปร่วมงานบุญหล่อพระปูนด้วยแรงกาย งานบุญใหญ่ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง.




 



 

       
                                                                                             

30/9/57

ทั้งข้างในและข้างนอก


" งานศิลปะฯ ต้องเผยแพร่ออกไปในวงกว้าง 
...ในระดับสากล
และต้องไม่ลืมที่จะหันกลับไป ให้ความรู้แก่มวลชนผู้เป็นต้นธารศิลปะนั้น
...ในระดับรากของประเทศ

...ยิ่งงานศิลปะแพร่ไปได้ไกลแค่ไหน 
ยิ่งต้องหันกลับไปปลูกฝั่ง,ถ่ายทอด,ส่งคืนศิลปะและศาสตร์วิชานั้นให้กับ... 
ยุวชน ผู้เป็นดั่งเมล็ดพันธุ์ในแผ่นดินเกิด...
เพื่อการดำรงอยู่ อย่างยั่งยืนแห่งงานศิลปะนั้นๆ...

...การทำงานเผยแพร่และพัฒนาแบบสองทางประสานกัน
เมื่อนั้น ศิลป์และศาสตร์ จะผลิดอกออกผล
เบ่งบาน,งดงามไปพร้อมๆ กัน... ทั้งข้างใน และ ข้างนอก."

 
 
แหลม ไทอชิร

2 สิงหาคม 2556
เมืองมอร์เฟเด้นท์ เยอรมันนี